ค่าจ้างขั้นต่ำประชารัฐ…ประเทศจะเสียหายต้องไม่ให้นักการเมืองเอาไปหาเสียง

ค่าจ้างขั้นต่ำประชารัฐ…ประเทศจะเสียหายต้องไม่ให้นักการเมืองเอาไปหาเสียง


โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
รองประธานสภานายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย


วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum Wage) เป็นค่าแรงที่กฎหมายให้การคุ้มครองที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับ
ลูกจ้างทุกคนไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานไปจนถึงคนชรา จะมีหรือไม่มีการศึกษาเป็นคนพิการหรือเป็นเพศใดแม้แต่
แรงงานต่างด้าวทำงานไม่เป็นหรือพูดภาษาไทยไม่รู้เรื่องต้องจ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ประเทศไทยมี
การประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนกับหลายประเทศในโลกมีมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2516เริ่มจากวันละ 12 บาทใช้เฉพาะ
ในกรุงเทพฯ อัตราค่าจ้างให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างเป็นองค์กรไตรภาคีมีผู้แทนนายจ้าง-ลูกจ้าง
และตัวแทนภาครัฐเพื่อพิจารณาและถ่วงดุล ในต่างจังหวัดมีอนุกรรมการค่าจ้างโดยมี ผู้ว่าราชการ
จังหวัดเป็นประธาน แต่เดิมปัญหาค่าจ้างมีการสไตรค์นัดหยุดงานรายวันเพราะมีพวกนักการเมืองหรือมือที่สาม
เข้าไปป่วนวุ่นวาย แต่ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาปัญหาพวกนี้แทบจะหมดไปเพราะนายจ้าง-ลูกจ้างดูแลกันเอง
ค่าจ้างขั้นต่ำกลับมาเป็นประเด็นเพราะช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเปิดแคมเปญสัญญาจะจ่าย
400 – 425 บาททำให้พรรคต่าง ๆ หันกลับมาใช้ประเด็นนี้หาเสียงเมื่อกลายเป็นนโยบายพรรคและเป็นแกน
นำหรือพรรคร่วมรัฐบาลกลุ่มแรงงานออกมากดดันให้มีการปรับค่าจ้างตามที่หาเสียงรัฐบาลทราบดีว่าหาก
ค่าจ้างปรับสูงขณะที่เศรษฐกิจของโลกและไทยกำลังอ่อนแอ จะส่งผลให้ธุรกิจใหญ่เล็กจะอยู่ไม่ได้แค่ปัญหา
ส่งออกถดถอยก็มากพออยู่แล้ว คาดว่าปีนี้คงติดลบไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ซึ่งก็เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น
เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาการส่งออกของสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 17, อินโดนีเซียติดลบร้อยละ 8.9, เกาหลีใต้ติด
ลบร้อยละ 3.5, ญี่ปุ่นครึ่งปีแรกส่งออกหดตัวถึงร้อยละ 4.7 ล่าสุดธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟออกมาปรับลด
การขยายตัวเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง
นโยบายการปรับค่าจ้างวันละ 400 บาท ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจขาลงทำให้เห็นสัญญาทั้ง
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแกนนำ เช่น คลัง, อุตสาหกรรมและแรงงาน ส่งสัญญาณว่า “ให้น่ะให้”
แต่ต้องคำนึงว่าปฏิบัติได้จริงหรือไม่ โดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและต้นทุนจะลามไปถึงส่งออกและ
ราคาสินค้าจะสูงทำให้ประชาชนเดือดร้อนมีการส่งเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคีไปพิจารณา
ตามหลักเกณฑ์ที่มีและค่าจ้างตามอัตราที่เหมาะสม
ประเด็นที่อยากจะชี้แจงหากใช้อัตรานี้จริงจะเป็นหายนะทางเศรษฐกิจในระยะยาวลองคำนวณอัตรา
ค่าจ้างที่สูงขึ้นจะอยู่ระหว่างวันละ 70 -92 บาทแตกต่างตามจังหวัดที่ฐานค่าจ้างต่างกัน หากใช้ค่าเฉลี่ยจะทำ
ให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นวันละ 81 บาทหรือเดือนละประมาณ 2,100 บาทโรงงานเล็ก ๆ คนงานแค่ร้อยคนปี
หนึ่งต้องจ่ายเพิ่มถึง 4.0 ล้านบาท หากเป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ผลกระทบก็ยิ่งมากเป็นทวีคูณ ต้นทุน
ค่าแรงที่เพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20-25 ที่สุดก็จะไปอยู่ในราคาสินค้าทำให้ราคาของกินของใช้จะเพิ่มขึ้นทำ
หน้า2/2
ให้เงินเฟ้อสูงขึ้นกระทบไปถึงการชะลอตัวของการบริโภคที่สุดก็วนเวียนไปทำให้กำลังการผลิตอุตสาหกรรม
ลดลงใช้คนน้อยลงหรือเอาเครื่องจักรเข้ามาแทน
ผลกระทบจัง ๆ ที่อยากจะให้เห็นคือส่งออกค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้ส่งออกชะลอตัว หากเพิ่มปัจจัย
ค่าแรงประชารัฐเพิ่มเข้าไปอีกคงแข่งขันได้ยาก ปัจจุบันค่าแรงของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้
หมายความว่าจะต้องไปจ้างถูก ๆ เพราะประเทศไทยพัฒนาเกินหน้าไปมากแล้วเพียงแต่ว่าช่วงห่างอย่าทิ้งกัน
จนแข่งขันไม่ได้ ขอยกตัวอย่างค่าแรงประเทศเพื่อนบ้านซึ่งแต่ละจังหวัดหรือแขวงแตกต่างกันอัตราที่นำมา
เปรียบเทียบเป็นค่าจ้างในเมืองหลวง เช่น ประเทศเวียดนามวันละ 175 บาท, เมียนมา 125 บาท, สปป.ลาว
158 บาท, กัมพูชาค่าจ้างขั้นต่ำมีหลายอัตราสูงสุดประมาณ 150 บาท ลองเอามาเฉลี่ยพบว่าค่าจ้างของไทยสูง
กว่า 2 เท่าหากปรับตามที่หาเสียงจะสูงกว่า 2.63 เท่า ขณะที่สินค้าส่งออกก็คล้าย ๆ กันทำให้แข่งขันกันได้
ลำบาก ราคาสินค้าที่ขายกันในประเทศหากสต๊อกเก่าหมดที่สุดคงทยอยปรับราคาไปตามต้นทุนกลายเป็นว่า
ประชาชนส่วนใหญ่กลายเป็นผู้รับภาระ โดยเฉพาะเกษตรกร, แม่บ้าน, คนเกษียณออกจากงานหรือคนชราที่ไม่
มีงานทำ
บทความนี้ไม่มีเจตนาว่าไม่ควรปรับค่าจ้างเพราะเข้าใจดีว่าผู้ใช้แรงงานต่างมีภาระแต่ควรเป็นอัตราที่
เหมาะสมทั้งนายจ้าง ลูกจ้างและเศรษฐกิจของประเทศสามารถไปด้วยกันได้ไม่ใช่การปรับอัตราแบบที่นำมาใช้
หาเสียง อยากให้สังคมไทยตระหนักและไม่ยอมให้นักการเมืองหรือคนที่อยากอยู่ในอำนาจเข้ามาแทรกแซง
เรื่องค่าจ้าง ถึงแม้ว่าผู้ใช้แรงงานในช่วงสั้น ๆ จะได้เงินมากขึ้นแต่ในระยะยาวจะไม่คุ้มเพราะการลงทุนที่ใช้
แรงงานเข้มข้นจะย้ายฐานการผลิตอีกทั้งเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้ประกอบการจะเร่งตัวใช้นวัตกรรมและระบบออโต
เมชั่นตลอดจนเทคโนโลยีเข้ามาแทนคนเพราะจุดคุ้มทุนเร็วขึ้น ต้นทุนค่าแรงลดลงและปัญหาก็น้อยลงถึงแม้
ภาคแรงงานระยะสั้นอาจมีรายได้มากขึ้นแต่เมื่อธุรกิจอยู่ไม่ได้อาจนำไปสู่การลดกำลังการผลิต ลดล่วงเวลาหรือ
ใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนคนที่สุดทำให้การจ้างงานลดน้อยถอยลง
ในรัฐสภาขออย่าให้เอาประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำไปเป็นเกมส์การเมืองโดยเอาประเทศเป็นเดิมพันต้อง
หาทางจะออกกฎหมายไม่ให้ในอนาคตผู้สมัครส.ส.หรือส.ว.ใช้ค่าจ้างขั้นต่ำหาเสียง ให้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ถึงขั้นยุบพรรค การปรับค่าจ้าง 400 บาทไม่ควรไปผูกกับนายจ้างเอาเปรียบหรือลูกจ้างไม่พอกินเป็นปัญหาโลก
แตกต้องไม่ยอมให้เอาค่าจ้างเป็นเกมส์การเมืองสู่อำนาจถูกดึงเอาเป็นเครื่องมือหาเสียง ปล่อยให้เป็นไปตาม
กลไกของคณะกรรมการค่าจ้างตามกฎหมาย อัตราค่าจ้างที่เหมาะสมเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลิตภาพแรงงานต่อ
รายได้ซึ่งปัจจุบันของไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำมาก ค่าจ้างรัฐบาลอย่าเข้าไปแทรกแซงเพราะจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยง
ทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นที่สุดจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์ www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)
photo: Credit www.posttoday.com