ดร. เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาฯ และคณะกรรมการบริหาร สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือในหลายประเด็นที่เกี่ยวกับนายจ้าง

เมื่อวันพุธที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ 
ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพ ฯ ดร. เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย
ประธานสภาฯ และคณะกรรมการบริหารสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย)
เข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือในหลายประเด็น ซึ่งประเด็นที่นำเสนอ สรุปได้ดังต่อไปนี้
.
1. นายจ้างไม่เห็นด้วยที่พรรคการเมืองต่างก็ใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงโดยชูประเด็นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
เพื่อหาเสียงเป็นนโยบายชวนเชื่อเพื่อการหาเสียง
.
เหตุผล ที่ไม่เห็นด้วยนั้น ยังคงมีความเห็นว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนั้นภายใต้
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 87 
มีองค์ประกอบทางด้านเศรษฐศาสตร์รองรับความเหมาะสมทุกด้านแล้ว 
ประกอบด้วยคณะกรรมการไตรภาคี 3 ฝ่าย ได้ใช้สิทธิในการพิจารณาครอบ
คลุมแล้ว ทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และฝ่ายรัฐ “กระบวนการดังกล่าว ได้ผ่านมติ 
ของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ทุกจังหวัด ผ่านเข้าอนุกรรม
การทบทวนแล้ว จึงส่งต่อไตรภาคี ค่าแรงขั้นต่ำ ตามระบบ อย่างถููกต้อง” จึง
ไม่จำเป็นที่ทางภาครัฐ จะต้องเข้ามาแทรกแซงให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนี้ ตาม
กระแสการเมืองแต่อย่างใด
2. การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง และพิจารณาการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย  
.
เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง และการ
พิจารณาแก้ไขกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าชดเชยนั้น ปัจจุบันนี้นายจ้าง
ต้องรับภาระเกี่ยวกับการจ่ายเงินเข้ากองทุนต่าง ๆ คือ
1. กองทุนประกันสังคม
2. กองทุนเงินทดแทน
3. กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (กำลังจะมีผลบังคับ)
4. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กำลังจะใช้บังคับ)
สำหรับเรื่องค่าชดเชยในประเด็นดังกล่าวนี้ นายจ้างไม่ได้มีนโยบายกำหนด
หลักการไว้ เมื่อเกิดการเลิกจ้าง นายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยเป็นกรณี ๆ ไป เช่น 
ในการเกษียณอายุ การสิ้นสุดสภาพการจ้าง ซึ่งต้องปฏิบัติตามที่กฎหมาย
กำหนดอยู่แล้ว ในการที่จะกำหนดตั้งเป็นงบประมาณไว้เพื่ออนาคต เพื่อการ
จ่ายค่าชดเชยของลูกจ้างทั้งหมดล่วงหน้านั้น เป็นการสร้างนโยบายโดย
กฏหมายที่ไม่จำเป็นและยังไม่เคยมี แม้แต่ประเทศที่เจริญแล้ว ยังไม่นำมาใช้
เป็นนโยบายกันเลย อนึ่งหากภาครัฐจะขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริง จะเป็นการ
สร้างภาระให้แก่นายจ้าง อีกทั้งยังไม่เอื้อให้นักลงทุนในประเทศและต่าง
ประเทศมาเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยด้วย
3. เสนอให้ภาครัฐได้หารือกับกรมสรรพากร เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการ
ดำเนินการ Upskill-Reskill ให้แก่พนักงานเพื่อการพัฒนาทักษะเรียนรู้เสริม
ทักษะใหม่ๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในสายงานมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการเติบ
โตในอนาคตให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานโลก 
นายจ้างเห็นว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้ ควรจะให้นายจ้างสามารถนำไปหักลด
หย่อนภาษีได้เป็น 2 เท่า
.
เหตุผล ในเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ หรือเสริมทักษะใหม่ ๆ ให้เกิดความ
เชี่ยวชาญในสายงานมากขึ้น เพื่อรองรับเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ ในการประกอบ
กิจการนั้น เป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องจัดทำเป็นนโยบายอยู่แล้ว ซึ่งการดำเนิน
การดังกล่าวต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับค่าจ้างประจำปี และค่า
จ้างขั้นต่ำในทุกปี การดำเนินการ Upskill Reskill ให้แก่พนักงาน ในการพัฒนา
ทักษะเรียนรู้เทคโนโลยี่ใหม่ ๆ นั้น จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นใหม่อีก 
ในเรื่องนี้เห็นสมควรอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องส่งเสริมให้นายจ้างได้นำเอาค่าใช้
จ่ายที่เพิ่มขึ้นไปหักลดหย่อนภาษีได้สองเท่า “และหรือเรียกคืนได้ 50 % ของ
เงินค่าใช้จ่าย ที่นายจ้างได้ใช้ไป ทั้งสิ้นในช่วงการ Upskill Reskill เพื่อเป็นการ
ลดภาระนายจ้าง และสามารถพัฒนาความสามารถของแรงงานให้รวดเร็วขึ้น 
เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยี่ของเครื่องจักรใหม่ๆได้  และวิถีการทำงานที่
เปลี่ยนแปลงไป สามารถเพิ่ม productivity ได้ ผู้ประกอบการสามารถปรับค่าแรง 
ตาม skill ที่เพิ่มขึ้น กับผลงานที่ออกมา เพื่อปรับค่าแรงตาม performance
4. เรื่อง เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม ขอให้พิจารณาในเรื่องของ
การนำเอาเงินชราภาพออกมาใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพได้ ในระหว่างที่ยังเป็นผู้
ประกันตนตามมาตรา 33 อยู่ และให้หมายรวมถึงผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้
สามารถนำเอาสิทธิประโยชน์ เงินชราภาพเดิม ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 
ออกมาใช้เพื่อประโยชน์ในการครองชีพได้ ในระหว่างที่เป็นผู้ประกันตนตาม
มาตรา 39 ด้วย
.
เหตุผล คือ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แล้วนั้น มีสิทธิ
ประกอบด้วย 7 สิทธิประโยชน์ และสิทธิประโยชน์ประเภทที่ 6 คือ สิทธิชราภาพ 
ซึ่งผู้ประกันตนนี้จะได้รับสิทธินำมาใช้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วครบ 
180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และพ้นจากสภาพการเป็นผู้ประกันตนแล้ว 
จึงจะใช้สิทธิชราภาพนั้น มีผู้ประกันตนส่วนมากมีความเห็นว่าสิทธิชราภาพนั้น 
ผู้ประกันตนอาจไม่มีโอกาสได้ ใช้เลยก็ได้ จึงควรให้ผู้ประกันตนที่อาจจะไม่มี
โอกาสได้นำเงินชราภาพมาใช้ ได้นำเงินชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อน ในขณะที่
ยังเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้ นอกจากนั้นยังให้หมายรวมถึง ผู้ประกัน
ตนตามมาตรา 39 ซึ่งได้เคยเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 มาก่อนแล้ว ซึ่ง
ปกติแล้วต้องหยุดรับเงินชราภาพ ตามมาตรา 33 ให้สามารถขอรับสิทธินำเงิน
ชราภาพ ตามมาตรา 33 ออกมาใช้ในการดำรงชีพได้ในขณะที่เป็นผู้ประกันตน
ตามมาตรา 39 ได้อีกด้วย
 
📌ประมวลภาพบรรยากาศกิจกรรมพิเศษ📌
 
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ร่วมกับสมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ไทย จัดงานแข่งขันโบว์ลิ่ง กระชับสัมพันธ์
ณ Blu-O Rhythm & Bowl ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 5 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
วัตถุประสงค์ : เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและเพื่อหารายได้สนับสนุนกิจกรรมของสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย และ สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานประกันสังคม จัดงานวันครบรอบ 33 ปี

          เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย โดยนายสุวรรณ สุขประเสริฐ รองประธานสภาฯ เข้าร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจาก นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานประกันสังคมครบรอบ 33 ปี โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานประกันสังคม ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี        

การเมืองติดหล่มทำให้เศรษฐกิจติดกับดัก …..

….. ภาคเอกชนเริ่มมีสัญญานลดคนและชะลอการจ้างงานใหม่

โดย ดร.ธนิต  โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

การเมืองสุญญากาศหลังเลือกตั้ง
4 เดือนผ่านมายังตั้งรัฐบาลไม่ได้เกิดจากการเล่นเกมส์แรงสกัดเริ่มจากคุณพิธา
ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตอันดับหนึ่งออกนอกสังเวียนส่อเค้าตามด้วยเตรียมสกัดคุณเศรษฐา
ทวีสิน ถึงวันนี้ยังไม่รู้ทิศทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันออกแบบพิเศษให้
“สว.” มีบทบาทกำหนดคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งที่ผ่านมาสองพรรคใหญ่ได้คะแนนสูสีหลังจากพรรคเพื่อไทยรับลูกเป็นแกนนำจับมือพรรคภูมิใจไทยและพรรคเล็กพรรคย่อยรวมกันได้
238 เสียง อีกทั้งเริ่มเห็นสัญญานการเจรจาต่อรองกับพรรคสองลุงให้โหวตรับก่อนตั้งรัฐบาลแล้วค่อยเจรจากัน
โดยอ้างเพื่อขจัดความขัดแย้งสลายขั้วการเมืองที่ติดล็อคซึ่งอาจขัดตาเอฟซี
และประชาชน ทางเลือกของพรรคเพื่อไทยหากต้องการเป็นรัฐบาลอาจไม่มีทางเลือกเพราะหากไม่เลือกขั้วเก่าจำนวน
“สส.” ที่มีอยู่ไม่พอทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ

อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ https://docs.google.com/document/d/1gUIGjNghK57gqKJz3Y_xX_csaL38z5eIQrcKokV5q3Q/edit?usp=drive_link 

 

ประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 12.30 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ชั้น 3 อาคาร สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) พร้อมคณะผู้บริหาร เข้าอวยพรวันคล้ายวันเกิด พร้อมมอบกระเช้าผลไม้แด่นายสมพงศ์ นครศรี ประธานกิตติมศักดิ์สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด

📣ข่าวประชาสัมพันธ์📣

📌อึคอนไทย ร่วมกับ The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships ( AOTS) ประเทศญี่ปุ่น เปิดรับสมัครทุนอบรม (Hybrid course) ณ ประเทศญี่ปุ่น 🇯🇵

โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ทั้งหมด ‼️

📌 หัวข้อ The Program on Industrial Relations and Human Resource Management for Executives [ERHE]

📌เปิดรับใบสมัคร
: ตั้งแต่บัดนี้ -วันที่ 16 มิถุนายน 2566
( ค่าลงทะเบียนสอบ 1,000 บาท )

📍สอบสัมภาษณ์
: วันที่ 21 มิถุนายน 2566
เวลา 10.00 น.-12.00 น.

👩🏼‍⚖️ กำหนดการอบรม คลิก >>
https://drive.google.com/drive/folders/1c1E_axNfxL1IdxONDEsqWJuwxF-ywRUE?usp=drive_link

 

 

📌ประมวลภาพบรรยากาศงาน📌
 

เมื่อวันพุธที่ 08 มีนาคม  2566 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย)                               นำโดย ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาฯ เข้าร่วมงาน  วันสตรีสากล ประจำปี 2566 พร้อมร่วมแสดงความยินดีกับ          นางวิจิตรา อร่ามวัฒนานนท์  รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีแวลู จำกัด (มหาชน) สมาชิกสภาฯ เข้ารับโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี 2566 สาขา สตรีนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น สถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ โดยทางสภาฯ (อีคอนไทย) เป็นหน่วยงานเสนอชื่อและกลั่นกรองโดย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสมุทรสาคร 

โดยมีนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานและมอบโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี 2566 และมีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงแรงงาน และผู้เข้ารับรางวัลสตรีทำงานดีเด่น จำนวนทั้งสิ้น 31 คน จาก 8 ประเภทรางวัล เข้าร่วม ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

>>>> ชมภาพกิจกรรมทั้งหมด คลิ้ก Link>>>>https://drive.google.com/drive/folders/10nJEObZOYSo9m_WK00N9vzcGaW6pNM6L?usp=sharing

📌ประมวลภาพบรรยากาศงาน📌
 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย                                      จัดกิจกรรม งานแข่งขันกลอ์ฟกระชับสัมพันธ์ ครั้งที่ 11 
ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 

โดยเริ่มแข่งขัน (Shot Gun Start) เวลา 12.00 น. และสิ้นสุดการแข่งขันเวลา 17.30 น. ณ สนามกอล์ฟศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก เลขที่ 4 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระชับสัมพันธ์ พบปะสังสรรค์ในมวลหมู่สมาชิก คณะผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง คณะที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์ คณะนักเรียนทุน NICC, HIDA, AOTS และท่านผู้มีอุปการคุณ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกีฬา และเพื่อเป็นการหารายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่เป็นประโยอชน์แก่สมาชิกของสภาฯ กิจกรรมครั้งนี้จะมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันรวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 ทีม จำนวนคนประมาณ 160 คน
>>>> ชมภาพกิจกรรมทั้งหมด คลิ้ก Link>>>> https://drive.google.com/drive/folders/10II3tBTYKgoky7xQBPF_IGibyHYj2wu5?usp=sharing
 

📌ประมวลภาพบรรยากาศงาน📌
เสวนาระดมความคิดเห็น “เศรษฐกิจไทย และอุปสงค์การจ้างงาน ปี 2566”
📆วันอังคารที่ 31 มกราคม 2566
เวลา 13.00 – 16.00 น.
🏢ณ สถาบัน V-SERVE ชั้น 20 อาคาร MD TOWER บางนา
โดยมี ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยด้านเศรษฐกิจและนายสุวรรณ สุขประเสริฐ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยด้านกฎหมายและบริหารร่วมบรรยายในงาน ทางอีคอนไทยขอขอบพระคุณผู้เข้าเสวนาทุกท่านมา ณ ที่นี่ด้วยค่ะ

📌ประมวลภาพบรรยากาศการอบรม📌
สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ( อีคอนไทย )ร่วมกับ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจาก The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships [AOTS] ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
หัวข้อ “เปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันสมัยด้วย HRD แนวใหม่ผ่านกรณีศึกษาของญี่ปุ่น”
(HRD and Organizational Transformation -Trends and Case studies of Japan)
เมื่อวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2565 ณ เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเทล ประตูน้ำ
โดยการอบรมนี้ได้รับเกียรติจาก Mr. Kuroda Kazuteru Senior Consultant, Japan Productivity Center วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน HRD จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมถึงในประเทศไทย ทั้งนี้ยังมีผู้แทนจากประเทศไทยมีชื่อเสียงในเรื่องการพัฒนาด้าน HRD มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในครั้งนี้ได้แก่ คุณศักดิ์ดา หวานแก้ว DIRECTOR GROUP OF HUMAN RESOURCES MANAGEMENT, D.G. TRANS INTERNATIONAL CO., LTD. และคุณวรดา ชำนาญพืช Board of Director, TBKK (THAILAND) CO.,LTD ทางอีคอนไทยใคร่ขอขอบพระคุณผู้เข้าอบรมทุกท่าน รวมถึงท่านวิทยากร เป็นอย่างสูง ที่ได้ให้เกียรติกับทางสภาฯ มาเป็นวิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้กับผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ อีคอนไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ จะได้รับความรู้และสามารถนำความรู้ไปใปรับใช้ได้อย่างเต็มที่ หวังว่าจะได้เจอทุกท่านในคอร์สต่อๆไปด้วยนะคะ – ECONTHAI
📌ประมวลภาพบรรยากาศการอบรบกับอีคอนไทย
เมื่อวันที่ 🗓 27 ตุลาคม 2565 ⏰ 9.00–16.00 น. 🔈สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ( อีคอนไทย ) ได้จัดอบรมหลักสูตร เจาะลึกการทำสัญญาจ้างแรงงานทุกประเภทการจ้าง
หลักสูตร 1 วัน📍
🏨 โรงแรม โนโวเทล แพลทินัม ประตูน้ำ ห้อง Amber ชั้น 7
🧑‍💻 โดยได้รับเกียรติบรรยายโดยท่านอาจารย์นราพงษ์ จิรมณีงาม เลขานุการศาลแรงงานกลาง อีคอนไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่เข้ารับการฝึกอบรมในคอร์สนี้ จะได้รับความรู้เรื่อง สัญญาจ้างแรงงานทุกประเภทและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ หวังว่าจะได้เจอทุกท่านในคอร์สต่อๆไปด้วยนะคะ/ขอบคุณค่ะ – ECONTHAI
🌟ข่าวประชาสัมพันธ์🌟
Econthai จัดงานประชุมสังสรรค์กลุ่มสหมิตร
การประชุมสังสรรค์สมาชิกกลุ่มสหมิตร ในครั้งนี้ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (Econthai) หรือเป็นที่รู้กันในนามสภา 2 ในปีนี้ทางสภา2 ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งแต่ละปีจะเป็นการหมุนเวียนสลับกันเป็นเจ้าภาพและมีการปฏิบัติต่อเนื่องกันมายาวนานหลายปี โดยมีดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย – ประธานสภาฯ และคณะกรรมการบริหารให้การต้อนรับ วัตถุประสงค์ในการประชุมสังสรรค์ นอกจากจะเป็นการพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหารร่วมกันแล้ว ในกลุ่มสมาชิกก็จะมาแบ่งปันประสบการณ์ วิชาความรู้ ความเคลื่อนไหวทางด้านแรงงาน ใหม่ๆ ที่กลุ่มสมาชิกสภาองค์การนายจ้างฯ นำมาเล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตด้วยดีเสมอมา ทั้งนี้ ในปีนี้ทางสภา 2 ยังได้รับเกียรติจากท่านปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ให้เกียรติมาร่วมงานในอีกด้วย บรรยากาศภายในงานเลี้ยงเป็นไปอย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง เคล้าคลอด้วยเสียงเพลงจากเครื่องเล่นคาราโอเกะ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ร่วมร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน งานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 65 ณ ห้องเทเวสร์รำลึก สโมสรทหารบก กรุงเทพฯ ✨️
ECONTHAI ร่วมแสดงความยินดี ครบรอบ 29 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงแรงงาน
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2565 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย นำโดย ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาฯ พร้อมคณะ ได้เป็นผู้แทนสภาฯ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงแรงงาน ครบรอบ 29 ปี โดยมี ตัวแทนท่านคุณสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้รับมอบดอกไม้ ณ กระทรวงแรงงาน
📌ประมวลภาพบรรยากาศกิจกรรมพิเศษ📌
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ร่วมกับสมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ไทย จัดงานแข่งขันโบว์ลิ่ง กระชับสัมพันธ์
ณ Blu-O Rhythm & Bowl ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 5 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
วัตถุประสงค์ : เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและเพื่อหารายได้สนับสนุนกิจกรรมของสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย และ สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ไทย
📌ประมวลภาพบรรยากาศการอบรม📌
สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ( อีคอนไทย )
ซึ่งได้รับอนุญาติจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดอบรมหลักสูตร ที่ปรึกษาแรงงานสัมพันธ์ รุ่นที่ 204 ครั้งที่ 58 เมื่อวันที่ 25 – 26- 27 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกต ชั้น 8 ห้องจิตรลดา ทางอีคอนไทยขอขอบพระคุณผู้เข้าอบรมทุกท่าน รวมถึงท่านวิทยากร ทั้ง 6 ท่าน เป็นอย่างสูง ที่ได้ให้เกียรติกับทางสภาฯ มาเป็นวิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้กับผู้เข้าอบรมในรุ่นนี้ อีคอนไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่เข้ารับการฝึกอบรมในคอร์สนี้ จะได้รับความรู้เรื่อง แรงงานสัมพันธ์อย่างสูงสุด และเป็นนักแรงงานสัมพันธ์ที่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ หวังว่าจะได้เจอทุกท่านในคอร์สต่อๆไปด้วยนะคะ – ECONTHAI
**ข่าวประชาสัมพันธ์ **
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 คณะประธานสภาองค์การนายจ้างทั้ง 14 สภา นำโดย นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) และนางสิทธิรัตน์ โหตระไวศยะ นายกสมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พร้อมด้วยคณะ เข้ายื่นหนังสือขอคัดค้านแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. … ต่อท่านประธานวุฒิสภา และท่านประธานรัฐสภา ณ จุดแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) เนื่องจากมีสาระสำคัญของกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยโดยการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หลายประเด็น
นายแพทย์สุกิจ ผู้แทนท่านประธานรัฐสภา ชวน หลีกภัย ” รับหนังสือจากสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย และสมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พร้อมด้วยคณะตัวแทนจากสภาองค์การนายจ้างทั้ง 14 สภาฯ เข้ายื่นหนังสือคัดค้านร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ณ จุดแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา)
เมื่อวานนี้ (15 ส.ค.) นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือจากสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย นำโดย ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ และ นางสิทธิรัตน์ โหตระไวศยะ นายกสมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย เพื่อขอคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เนื่องจากสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มงบประมาณของภาครัฐ และสร้างภาระให้ประเทศชาติในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ทางด้าน ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ และ นางสิทธิรัตน์ โหตระไวศยะ สมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย กล่าวว่า สาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมีหลายประเด็นที่ไม่เห็นด้วย เช่น การเพิ่มบทนิยามคำว่า “การจ้างงานรายเดือน” (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5) เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนของนายจ้าง มากกว่า 30% โดยไม่มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือ Productivity มารองรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และเรื่องนี้ควรเป็นเรื่องที่เป็นการทำสัญญาของนายจ้างและลูกจ้างโดยถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้วและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงไม่ควรบังคับการแก้ไขเพิ่มเติมหลักการปฏิบัติของนายจ้างต่อลูกจ้างให้เท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติอันเขาพึงมีตามกฎหมาย (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 15) ในเรื่องนี้แนวทางปฏิบัติเดิมตามกฎหมายมีบังคับใช้อยู่แล้ว ตาม พ.ร.บ.เดิม มาตรา 4 และไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมในมาตรา 15 ของ พ.ร.บ. พ.ศ. 2541 การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง โดยปรับลดชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23) ซึ่งเรื่องนี้ควรเป็นเรื่องของนายจ้างและลูกจ้าง ที่จะใช้แรงงานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาความอยู่รอดขององค์กร การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันหยุดประจำสัปดาห์ โดยเพิ่มวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสองวันต่อสัปดาห์ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 28) การแก้ไขกรณีนี้ จะเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนขององค์กรมากกว่า 20% ซึ่งทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เมื่อทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน ให้มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบวัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 30) ซึ่งการพักผ่อนประจำปีนี้เป็นสิทธิของนายจ้าง ที่ให้สิทธิพนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี แล้วจึงมีสิทธิลาพักร้อนได้ 6 วัน ในลักษณะของงานที่ลูกจ้างทำงานไม่เกิน 120 วัน ยังคงอยู่ในสภาพทดลองงานเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่เห็นควรจะแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ เป็นต้น

ประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 11.30 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ชั้น 3 อาคาร สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) พร้อมคณะผู้บริหาร เข้าอวยพรวันคล้ายวันเกิด พร้อมมอบกระเช้าผลไม้แด่นายสมพงศ์ นครศรี ประธานกิตติมศักดิ์สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด

 

 

📢 ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
📌 ค่าจ้างขั้นต่ำตามมาตรฐานฝีมือ…..ทางออกยกระดับรายได้และทักษะแรงงานไทย
(บทความบน Posttoday.com
 
| คอลัมนิสต์เศรษฐกิจ-ธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 มิ.ย. 65)
✍️ โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย)
⚠…….ปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยเป็นข่าวเพราะไม่ค่อยได้รับความสนใจ สัปดาห์ก่อนหน้านี้มีประกาศค่าจ้างขั้นต่ำตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 16 สาขาอาชีพอัตราค่าจ้างวันละ 450-650 บาทแตกต่างตามแต่ละคลัสเตอร์มีผลภายใน 3 เดือนจากนี้ไป …….
⚠…….ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำผู้ได้รับประโยชน์เป็นแรงงานต่างชาติและส่วนใหญ่ใช้กับแรงงานใหม่ที่พึ่งเข้ามาทำงาน มีการโยงให้สับสนว่า “Minimum Wage” เป็นค่าจ้างที่ต้องมากพอสามารถเลี้ยงดูคนในครอบครัวรวมทั้งบุพการีสามารถผ่อนบ้านผ่อนรถได้ …….
⚠…….ที่จริงแรงงานไทยส่วนใหญ่ค่าจ้างสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำเนื่องจากแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานร้อยละ 70 จบการศึกษาระดับปวส.และปริญญา อีกทั้งปัจจุบันแรงงานระดับ ……